วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว


ประโยคความเดียว

ประโยค คือข้อความ หรือถ้อยคำสมบูรณ์ประกอบด้วย ภาคประธานและภาคแสดง
ภาคประธาน ประกอบด้วยประธานและส่วนขยายของประธาน
ภาคแสดง ประกอบด้วย กริยา กรรม ส่วนขยายกริยา ส่วนขยายกรรม

ประโยคแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. ประโยคความเดียว
2. ประโยคความซ้อน
3. ประโยคความรวม

ประโยคความเดียว คือประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียว มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงเดียว มีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว ดังตัวอย่างเช่น


ตัวอย่างประโยคความเดียว


นกบิน กล่าวถึงใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียว คือ นกบิน
ฝนตก กล่าวถึงใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียว คือ ฝนตก
ลมพัด กล่าวถึงใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียว คือ ลมพัด
เด็กยิ้ม กล่าวถึงใจความสำคัญเรื่องเดียวคือ เด็กยิ้ม
ดอกไม้บาน กล่าวถึงใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียว คือ ดอกไม้บาน
พ่อปลูกต้นไม้ กล่าวถึงใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียว คือ พ่อปลูกต้นไม้
ฉันกินมะม่วง กล่าวถึงใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียว คือ ฉันกินมะม่วง
น้องอ่านหนังสือ กล่าวถึงใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียวคือ น้องอ่านหนังสือ
เด็กปอกส้ม กล่าวถึงใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียวคือ เด็กปอกส้ม
ครูสอนหนังสือ กล่าวถึงใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียวคือ ครูสอนหนังสือ
วิชัยเป็นนายอำเภอ กล่าวถึงใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียวคือ วิชัยเป็นนายอำเภอ

นกบิน
อาจจะเพิ่มส่วนขยายประโยคได้ดังนี้
นกสวย บิน (ขยาย นก ด้วยคำว่า สวย)
นกอ้วน บิน (ขยาย นก ด้วยคำว่า อ้วน)
นกสีแดง บิน (ขยาย นก ด้วยกลุ่มคำ (วลี) สีแดง)

นกของนุช บิน
(ขยาย นก ด้วยกลุ่มคำ (วลี) ของนุช)
นกที่อยู่ในสวน บิน (ขยาย นก ด้วยประโยค ที่อยู่ในสวน)
นกซึ่งซื้อจากจตุจักร บิน (ขยาย นก ด้วยประโยคซึ่งซื้อจากจตุจักร)

นกจากนี้ยังอาจจะ ขยายคำ บิน ได้อีก เช่น
นก บิน เร็ว (ขยาย บิน ด้วยคำ เร็ว)
นก บิน สูง (ขยาย บิน ด้วยคำ สูง)
นก บิน สูงมาก (ขยาย บิน ด้วยกลุ่มคำ (วลี) สูงมาก)

นก บิน ช้า จริง ๆ
(ขยาย บิน ด้วยกลุ่มคำ (วลี) ช้าจริง ๆ )
นก บิน อย่างนกมีความสุข
(ขยาย บิน ด้วยประโยคอย่างนกมีความสุข)
นก บิน เร็ว จนเขามองไม่ทัน
(ขยาย เร็ว ด้วยประโยค จนเขามองไม่ทัน)

เพียงเท่าที่ยกตัวอย่างมานี้ สามารถนำประโยค นกบิน มาเรียบเรียงได้ถึง 36 ประโยค เช่น
1. นกสวยบินเร็ว
2. นกสวยบินสูง
3. นกสวยบินสูงมาก
4. นกสวยบินช้าจริง ๆ
5. นกสวยบินอย่าง
6. นกมีความสุข
7. นกสวยบินเร็วจน
8. เขามองไม่ทัน
9. นกอ้วนบินเร็ว
10. นกอ้วนบินสูง
11. นกอ้วนบินสูงมาก
12. นกอ้วนบินช้าจริง ๆ
13. นกอ้วนบินอย่าง
14. นกมีความสุข
15. นกอ้วนบินเร็วจน
16. เขามองไม่ทัน ฯลฯ

ขอให้ดูประโยคความเดียวที่มีส่วนขยายดังต่อไปนี้
1. นกสวยบินเร็ว (ขยาย นก ด้วย คำ สวย)
2. นกสวยมากบินเร็ว (ขยาย นก ด้วย กลุ่มคำ (วลี) สวยมาก)
3. นกซึ่งมีขนสวยบินเร็ว (ขยาย นก ด้วยประโยค ซึ่งมีขนสวย)

โดราเอม่อน ตอน โนบิตะ ตะลุยอาณาจักรหุ่นยนต์
โดราเอม่อนตอนนี้ จับความถึงโลกแห่งอาณาจักรในอีกมิติหนึ่งซึ่งผู้คนที่นั่นสร้าง หุ่นยนต์ให้เป็นเหมือนผู้ช่วยและยังอ่อนโยนเป็นมิตรผูกพันกับผู้คน แต่องค์หญิงจานุผู้ปกครองอาณาจักรนี้ กลับมีคำสั่งให้กวาดล้างหุ่นยนต์เหล่านี้ เพื่อป้อนโปรแกรมให้ปุ่นทั้งหมดทำแต่งาน สาเหตุก็เนื่องมาจากปมในอดีตที่เกิดขึ้นกับบุคคลอันเป็นที่รักขององค์หญิงจา นุ
โปโกะ หุ่นยนต์เด็กตัวน้อยจึงต้องหลีกหนีการตามล่าของทหารและต้องพลัดพรากจากมา เรียหุ่นที่เป็นแม่ของโปโกะและเคยเป็นแม่เลี้ยงองค์หญิงจานุในวัยเด็ก โปโกะหนีจนพลัดหลงมาในช่องว่างของมิติเวลาและประจวบเหมาะกับปัญหาคลาสสิ คเดิม ๆ เมื่อโนมิตะอยากได้ของเล่นหุ่นยนต์ไว้แข่งกับนายปากแหลม (ใครเป็นใครไปไม่ได้นอกจาซึเนโอะ)
โปโกะ จึงได้มาพบกับพวดโดราเอม่อน แล้วการผจญภัยครั้งใหม่ของโอราเอม่อนและเด็ก ๆ กลุ่มนี้ก็เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง เมื่อโปโกะ เชื่อว่าเขายังสามารถช่วยแม่ และจะเปลี่ยนใจองค์หญิงจานุให้เข้าใจอาณาจักรในอุดมคติของพระราชาบิดาของ องค์หญิงจานุ ซึ่งตั้งพระทัยไว้ว่า คนจะใช้ชีวิตร่วมกับหุ่นยนต์ได้และเป็นสังคมที่มีความสงบสุข




ประโยคความซ้อน

ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยค
อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี 3 ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้

1. ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อม หรือคำเชื่อม

ตัวอย่าง

• คนทำดีย่อมได้รับผลดี
คน...ย่อมได้รับผลดี : ประโยคหลัก
คนทำดี : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน

• ครูดุนักเรียนไม่ทำการบ้าน
ครูดุนักเรียน : ประโยคหลัก
นักเรียนไม่ทำการบ้าน : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม

2. ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติม เต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย

ตัวอย่าง


• คนที่ประพฤติดีย่อยมีความเจริญในชีวิต
ที่ประพฤติ ขยายประธาน คน
คน...ย่อมมีความเจริญในชีวิต : ประโยคหลัก
(คน) ประพฤติดี : ประโยคย่อย

• ฉันอาศัยบ้านซึ่งอยู่บนภูเขา
ซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม บ้าน
ฉันอาศัยบ้าน : ประโยคหลัก
(บ้าน) อยู่บนภูเขา : ประโยคย่อย

3. ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือบทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย

ตัวอย่าง

• เขาเรียนเก่งเพราะเขาตั้งใจเรียน
เขาเรียนเก่ง : ประโยคหลัก
(เขา) ตั้งใจเรียน : ประโยคย่อยขยายกริยา

• ครูรักศิษย์เหมือนแม่รักลูก
ครูรักศิษย์ : ประโยคหลัก
แม่รักลูก : ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน)

คำซ้อน

คำซ้อน

คำซ้อน คือคำที่เกิดจากคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปซึ่งมีความหมายเหมือนกันหรือไปในทำนองเดียวกันหรือมีความหมายต่างกันในลักษณะตรงข้าม มารวมกันทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นมา
คำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นนาม กริยา หรือวิเศษณ์ก็ได้ คำมูลเหล่านี้ต้องประกอบกับคำชนิดเดียวกัน คือเป็นคำนามด้วยกัน หรือกริยาด้วยกัน และทำหน้าที่ได้ต่างๆ เช่นเดียวกับชนิดของคำมูลที่นำมาซ้อนกันเช่น


นามกับนาม เช่น เนื้อตัว เรือแพ ลูกหลาน เสื่อสาด หูตา

กริยากับกริยา เช่น ทดแทน ชมเชย เรียกร้อง ว่ากล่าว สั่งสอน

วิเศษณ์กับวิเศษณ์ เช่น เข้มงวด แข็งแกร่ง ฉับพลัน ซีดเซียว เด็ดขาด
คำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นคำมาจากภาษาใดก็ได้ อาจเป็นคำไทยกับคำไทย คำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด เช่น

-คำไทยกับคำไทย เช่น ผักปลา เลียบเคียง อ่อนนุ่ม อ้อนวอน

-คำไทยกับคำเขมร เช่น แบบฉบับ พงไพร หัวสมอง แจ่มจรัส

-คำไทยกับคำบาลีสันสกฤต เช่น เขตแดน โชคลาง พรรคพวก ศรีสง่า หมู่คณะ

-คำเขมรกับคำเขมร เช่น ขจัดขจาย เฉลิมฉลอง

-คำบาลีสันสกฤตกับคำบาลีสันสกฤต เช่น สรงสนาน ตรัสประภาษ เสบียงอาหาร

คำมูลที่นำมาซ้อนกัน ส่วนมากเป็นคำมูล 2 คำ ถ้ามากกว่านั้นมักเป็นคำมูล 4 คำ หรือ 6คำ
คำมูล 2 คำ เช่น ข้าวปลา นิ่มนวล ปากคอ ฟ้าฝน หน้าตา

คำมูล 4 คำ อาจมีสัมผัสกลางหรือซ้ำเสียง เช่น ได้หน้าลืมหลัง กู้หนี้ยืมสิน ยากดีมีจนมากหมอมากความ ไปวัดไปวา ต้อนรับขับสู้

คำมูล 6 คำ มักมีสัมผัสระหว่างกลาง เช่น คดในข้องดในกระดูก จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน


คำซ้อนแบ่งเป็น 2 พวกคือ คำซ้อนเพื่อความหมายและคำซ้อนเพื่อเสียง
คำซ้อนเพื่อความหมาย เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันเล็กน้อยหรือไปในทำนองเดียวกัน หรือต่างกันในลักษณะตรงข้าม เมื่อประกอบเป็นคำซ้อนจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1. ความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง คำอื่นหรือกลุ่มอื่นไม่ปรากฏความหมาย เช่น หน้าตา ปากคอ เท็จจริง ดีร้าย ผิดชอบ ขวัญหนีดีฝ่อ ถ้วยชามรามไห จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
2. ความหมายอยู่ที่ทุกคำแต่เป็นความหมายที่กว้างออกไป เช่น
เสื้อผ้า ไม่ได้หมายเฉพาะเสื้อกับผ้า แต่รวมถึงเครื่องนุ่งห่ม
เรือแพ ไม่ได้หมายเฉพาะเรือกับแพ แต่รวมถึงยานพาหนะทางน้ำทั้งหมด
ข้าวปลา ไม่ได้หมายเฉพาะข้าวกับปลา แต่รวมถึงอาหารทั่วไป
พี่น้อง ไม่ได้หมายเฉพาะพี่กับน้อง แต่รวมถึงญาติทั้งหมด
หมูเห็ดเป็ดไก่ หมายรวมถึงสิ่งที่ใช้เป็นอาหารทั้งหมด
3. ความหมายอยู่ที่คำต้นกับคำท้ายรวมกันเช่น เคราะห์หามยามร้าย ( เคราะห์ร้าย ) ชอบมาพากล ( ชอบกล ) ฤกษ์งามยามดี ( ฤกษ์ดี ) ยากดีมีจน ( ยากจน )
4. ความหมายอยู่ที่คำต้นหรือคำท้าย ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกันเช่น ชั่ว ดี ( ชั่วดีอย่างไรเขาก็เป็นเพื่อนฉัน ) ผิดชอบ ( ความรับผิดชอบ ) เท็จจริง ( ข้อเท็จจริง
)

คำซ้อนเพื่อเสียง ส่วนมากเกิดจากพยางค์สองพยางค์ซึ่งมีเสียงพยัญชนะต้นอย่างเดียวกัน เสียงสระหรือเสียงพยัญชนะสะกดอาจเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ พยางค์ที่นำมาประกอบกันอาจไม่มีความหมายหรือมีความหมายเพียงคำเดียว อีกคำหนึ่งอาจเป็นคำโบราณหรือคำภาษาถิ่น แต่เมื่อประกอบกันเป็นคำซ้อนต้องมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลักษณะของคำซ้อนเพื่อเสียง มีดังนี้

    1.แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงสระ เช่นเกะกะ ขรุขระ คู่คี่ เงอะงะ ซู่ซ่า
    2.แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกดเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงสระ เช่น เก้งก้าง ขลุกขลิก คึกคัก จริงจัง โผงผาง
    3.แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นและเสียงสระเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงพยัญชนะสะกด เช่น แจกแจง เพลิดเพลิน ทาบทาม ยอกย้อน สอดส่อง
    4.. แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน ต่างกันทั้งเสียงสระและพยัญชนะสะกด โดยมีพยัญชนะสะกดหรือไม่มีก็ได้ เช่น กงการ ขบขัน งงงวย ฟุ่มเฟือย เจือจาน



วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ราชาศัพท์

ราชาศัพท์

ราชาศัพท์ เป็นระเบียบการใช้คำพูดของไทยให้ สุภาพตามชั้นของบุคคลซึ่งแบ่งเป็นห้าชั้น ได้แก่ 1) พระราชา 2) เจ้านาย หรือพระราชวงศ์ 3) พระสงฆ์ของศาสนาพุทธ 4) ข้าราชการ และ 5) สุภาพชนทั่วไป

ประวัติ


ความเห็นของนักภาษาศาสตร์ไทย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพมีลายพระหัตถ์ไปถึงพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า "...ราชาศัพท์ดูเป็นคำที่ผู้เป็นบริวารชนใช้สำหรับผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่...มี เค้าจะสังเกตในคำจารึกและหนังสือเก่าเห็นได้ว่า ราชาศัพท์ใช้ในกรุงศรีอยุธยาดกกว่าที่อื่น ยิ่งเหนือขึ้นไป (หมายถึง ในสมัยก่อนอยุธยา) ยิ่งใช้น้อยลงเป็นลำดับ" โดยทรงสันนิษฐานด้วยว่า ราชาศัพท์เกิดขึ้นในอาณาจักรละโว้สมัยที่เขมรปกครอง ส่วนในประเทศไทยในนั้นน่าจะริเริ่มแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่ง กวาดต้อนชาวเขมรเข้ามาเป็นชนชั้นล่างในราชอาณาจักรอยุธยามาก ราชาศัพท์ในไทยจึงเป็นคำที่ชนชั้นล่างใช้แก่ชนชั้นสูงกว่า และยังแสดงพระวิจารณ์อีกว่า "...เมื่อแรกตั้งราชาศัพท์ ภาษาที่ใช้กันในพระนครศรีอยุธยายังสำส่อน เลือกเอาศัพท์ที่เข้าใจกันมากมาใช้ และ...ในครั้งแรกจะไม่มีมากมายนัก ต่อมาภายหลังจึงคิดเพิ่มเติมขึ้นด้วยเกิดคิดเห็นว่าของเจ้าควรจะผิดกับของ ไพร่ให้หมด..."

พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ราชบัณฑิต มีพระปาฐกถาเรื่อง "กถาเรื่องภาษา" ว่า "...นอกจากคำพูดและวิธีพูดทั่วไปแล้ว ยังมีคำพูดและวิธีพูดสำหรับชนเฉพาะหมู่เฉพาะเหล่าอีกด้วย เช่น ราชาศัพท์ของเรา เป็นต้น ฝรั่งไม่มีราชาศัพท์เป็นคำตายตัว แต่มีวิธีพูดยกย่องชั้นพระมหากษัตริย์หรือชั้นผู้ดีเหมือนกัน แต่วิธีพูดเช่นนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว โดยมากมักจะเป็นวิธีพูดอย่างสุภาพเท่านั้นเอง"


คำสุภาพ


คำสุภาพ คือคำราชาศัพท์สำหรับชั้นสุภาพชน เป็นการเปลี่ยนถ้อยคำต่างๆ ให้เหมาะสมสำหรับสื่อสารกับผู้ที่อาวุโสกว่า คำสุภาพมีลักษณะทั่วไปดังนี้

  1. ไม่เป็นคำอุทานที่ไม่สุภาพ เช่น โว้ย เว้ย หรือคำสบถ เช่น ให้ตายห่า ให้ฉิบหายวายวอด หรือการพูดกระชากเสียง เช่น เปล่า ไม่ใช่ เป็นต้น
  2. ไม่เป็นคำผวน คือเมื่อผวนหางเสียงกลับมาไว้ข้างหน้าแล้ว คำนั้นจะกลับเป็นไม่สุภาพทันที เช่น ผักบุ้ง ผวนเป็น พุ่งบัก เป็นต้น
  3. ไม่มีการใช้คำที่ถือว่าหยาบโลน เช่น ไอ้, อี, ขี้ ฯลฯ โดยจะเปลี่ยนคำศัพท์ไปเป็นคำอื่น เป็น สิ่ง, นาง, อุจจาระ ฯลฯ หรือไม่ก็ตัดออกไปเลย เช่น อีเลิ้ง เป็น นางเลิ้ง ดอกขี้เหล็ก เป็น ดอกเหล็ก เป็นต้น

ความหมายที่แท้จริงของ "คำหยาบ" หาใช่หมายถึงเฉพาะคำโลนหรือคำที่ใช้ในการกล่าวผรุสวาจาเท่านั้นไม่ ที่ถูกแล้วน่าจะเรียกว่า "คำสามัญ" มากกว่า เช่น คำว่า ตีน, กิน, เดิน, นอน ก็ไม่น่าจะเป็นคำหยาบอะไร แต่การนำคำเหล่านี้ไปใช้พูดกับผู้คนที่อาวุโสกว่า คำเหล่านั้นจะถือเป็น "คำหยาบ" ต้องเปลี่ยนใช้คำอื่น เช่น จะพูดว่า "ตีน" ก็ต้องเปลี่ยนเป็นคำว่า "เท้า" เป็นต้น


คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์


หน้าที่ของคำวิเศษณ์

มักจะทำหน้าที่เป็นส่วยขยายในประโยค

  1. ขยายนาม เช่น เด็กดีมีวาจาไพเราะ ห้องเก่าทาสีใหม่ เป็นต้น
  2. ขยายคำสรรพนามเช่น ท่านทั้งหลายกรุณาพร้อมใจไปเลือกตั้ง เป็นต้น
  3. ขยายคำกริยา เช่น อ๊อฟกินอาหารมากเกินไป โอเล่พูดเพราะมาก เป็นต้น
  4. ขยายคำวิเศษณ์ เช่น เขาทำงานหนักมาก ฉันทำเองจริงๆ เป็นต้น
  5. เป็นคำอกรรมกริยา หรือกริยาที่ไม่ต้องการกรรมได้ด้วย เช่น น้อยหน่าสวยแต่โฟกัสฉลาด เด็กคนนั้นผอมจัง เป็นต้น


ประเภทของคำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น 10 ชนิด คือ

  1. ลักษณวิเศษณ์
  2. กาลวิเศษณ์
  3. สถานวิเศษณ์
  4. ประมาณวิเศษณ์
  5. นิยมวิเศษณ์
  6. อนิยมวิเศษณ์
  7. ปฤจฉาวิเศษณ์
  8. ประติเษธวิเศษณ์
  9. ประติชญาวิเศษณ์
  10. ประพันธวิเศษณ์


ลักษณวิเศษณ์

เป็นคำวิเศษณ์ขยายนาม สรรพนาม หรือกริยา เพื่อบอก ชนิด ขนาด สัณฐาน สี เสียง กลิ่น รส อาการ สัมผัส เช่น เล็ก แบน ยาว ขาว เหม็น หอม เปรี้ยว

ตัวอย่างของลักษณวิเศษณ์ เช่น

เขาร้องเพลง เพราะ จริง
มะม่วงผลนี้มีรส เปรี้ยว
นักเรียน ดี ต้องอ่านหนังสือ
ดอกจำปีมีกลิ่นหอม
เจี๊ยบมีรถยนต์คันใหม่
น้อยหน่ามีดอกไม้สีแดง
แมวตัวนี้มีขนนุ่ม
ในสังคมมีทั้งคนดีและคนชั่ว แจ๊คชอบทานอาหารเผ็ด


กาลวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์ที่ขยายคำอื่นเพื่อบอกเวลา เวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต เช้า สาย บ่าย ค่ำ เช่น เร็ว ก่อน เช้า สาย บ่าย เย็น ค่ำ นาน เสมอ

ตัวอย่างของกาลวิเศษณ์เช่น

เขามาโรงเรียน สาย
เงาะจะดูละครบ่ายนี้
ครั้นเวลาค่ำลมก็พัดแรง
คนโบราณชอบดูหนังตะลุง
วันสอบนักเรียนมักจะมาเช้า

สถานวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์บอกสถานที่หรือระยะทาง ได้แก่คำว่า บน ลาง เหนือ ใต้ใน นอก ซ้าย ขวา หน้า บน หลัง ใกล้ ไกล เป็นต้น

ตัวอย่างของสถานวิเศษณ์เช่น

เขาอยู่ไกล
โรงเรียนอยู่ไกล
เขาอาศัยอยู่ชั้นล่าง
บอยเดินไปทางทิศเหนือ
ไก่เป็นสัตว์บก

ประมาณวิเศษณ์

คือ คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนหรือปริมาณ เช่น น้อย มาก จุ ทั้งปวง หมด หนึ่ง สอง หลาย ทั้งหมด จุ เป็นต้น

ประมาณวิเศษณ์ จำแนกเป็น 4 พวก
  1. บอกจำนวนไม่จำกัด ได้แก่คำ หมด สิ้น ทั้งปวง บรรดา
  2. บอกจำนวนไม่จำกัด ได้แก่ จุ มาก หลาย
  3. บอกจำนวนนับ เช่น หนึ่ง สอง ที่หนึ่ง
  4. บอกจำนวนแบ่งแยก เช่น ต่าง บ้าง

ตัวอย่างของประมาณวิเศษณ์เช่น

สุนัขที่เลี้ยงไว้กินจุทั้งสิ้น
มาโนชมีเรือหลายลำ
เขาไม่มีโรงเรียนหลายวัน
คุณดื่มเบียร์มากไปไม่ดีนะ

นิยมวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะความแน่นอน ได้แก่คำ นี้ นั้น โน้น ทีเดียว แน่นอน เฉพาะ โน้น แน่ เอง ทั้งนี้ ทั้งนั้น อย่างนี้ เป็นต้น เช่น

ตัวอย่างของนิยมวิเศษณ์ เช่น

กระเป๋านี้ฉันทำเอง
พริกเองเป็นคนเล่าให้เพื่อนฟัง
แก้วนี้ต้องทำความสะอาดอย่างนี้
ตึกนี้มีคนขายแล้ว
เขาเป็นคนขยัน แน่ๆ ฉันทำ เอง

อนิยมวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบ โดยไม่แสดงความกำหนดแน่นอนลงไป ไม่ชี้เฉพาะ ไม่แน่นอน ได้แก่คำว่า อันใด อื่น ใด ไย ไหน อะไร เช่นไร เป็นต้น อีกทั้งไม่ใช่คำถามหรือแสดงความสงสัย ได้แก่คำ อื่น อื่นๆ ใคร ใครๆ อะไร ฉันใด

ตัวอย่างของอนิยมวิเศษณ์ เช่น

คนไหนอาบน้ำก่อนก็ได้
ซื้อขนมอะไรมาโฟกัสกินได้ทั้งสิน
ตี่จะหัวเราะทำไมก็ช่างเขาเถอะ
คนอื่นๆกลับบ้านไปหมดแล้ว
เธอจะมาเวลา ใด ก็ได้
เธอจะทำ อย่างไร ก็ทำเถอะ
เขาจะมา กี่ คนก็ไม่เป็นไร

ปฤจฉาวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์ที่บอกเนื้อความเป็นคำถามหรือความสงสัย ใช้เป็นคำถามหรือแสดงความสงสัย ได้แก่คำ อะไรไฉน ใด เหตุไร อย่างไรไหน ทำไม เป็นต้น

ตัวอย่างของปฤจฉาวิเศษ เช่น

ตัว อะไร อยู่ใต้โต๊ะ
เขากำลังคิด อะไร นะ
ทำไม เธอจึงทำอะไรอย่างนี้ี
ผลไม้อะไรที่แน็คซื้อมาให้ฉัน
สุนัขใครน่ารักจัง
นักร้องคนไหนไม่ชอบร้องเพลง
การเล่นฟุตบอลมีกติกาอย่างไร

ประติเษธวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์ที่แสดงถึงการขานรับในการเจรจาโต้ตอบกัน เป็นการแสดงความปฏิเสธไม่ยอมรับ เช่น ไม่ ไม่ได้ มิได้ ไม่ใช่ หามิได้ บ่ เป็นต้น

ตัวอย่างของประดิเษธวิเศษณ์ เช่น

ผมไม่ได้ทำสิ่งนั้น
เขาตามหาหล่อนแต่ไม่พบ
พี่ไม่ได้แกล้งน้องนะ
ความรู้มิใช่ของหาง่ายนะเธอ
เธอไม่ปลูกต้นไม้เลย

ประติชญาวิเศษณ์

ได้แก่คำวิเศษณ์ที่ใช้ในการพูดจากัน เช่นคำจำพวกขานรับ คำรับรอง เช่นคะ ค่ะ ขา ครับ จ๊ะ ขอรับ

ตัวอย่างของประติชญาวิเศษณ์เช่น

คุณ ครับ มีคนมาหา ขอรับ
หนูจ๊ะรถทัวร์จะออกเดี๋ยวนี้แล้ว
คุณตัดเสื้อเองหรือค่ะ
คุณแม่ขาหนูทำจานแตกค่ะ
ผมจะไปพบท่านขอรับ

ประพันธวิเศษณ์

คือ คำวิเศษณ์ ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือความที่เขามาข้างหน้า ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน

ตัวอย่างของประพันธ์วิเศษณ์ เช่น

เขาคิดอย่าง ที่ เธอคิด
เขาทำความดี อัน หาที่สุดมิได้

คำกริยา

คำกริยา

คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนามเพื่อให้รู้ว่า นามหรือสรรพนามนั้นทำหน้าที่อะไร หรือเป็นการแสดงการกระทำของประธานในประโยค

3.1 ชนิดของคำกริยา
คำกริยาแบ่งได้ 5 ชนิด คือ

1. อกรรมกริยา คือกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
ฉันยืนแต่แม่นั่ง
ไก่ขัน แต่หมาเห่า
พื้นบ้านสกปรกมาก
คำลักษณวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโวค ถือว่าเป็นกริยาของประโยค เช่น
ฉันสูงเท่าพ่อ
ดอกไม้ดอกนี้หอม
พื้นสะอาดมาก

2. สกรรมกริยา คือ กริยาที่มีกรรมมารับจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
ฉันกินข้าว
แม่หิ้วถังน้ำ
พ่อขายของ
กริยาบางคำต้องมีกรรมตรงและกรรมรอง เช่น
ให้ ฉันให้ดินสอน้อง หมายถึง ฉันให้ดินสอแก่น้อง
แจก ครูแจกดินสอนักเรียน หมายถึง ครูแจกดินสอให้นักเรียน
ถวาย ญาติโยมถวายอาหารพระภิกษุ หมายถึง ญาติโยมถวายอาหารแด่พระภิกษุ
ดินสอ อาหาร เป็นกรรมตรง
นักเรียน พระภิกษุ น้อง เป็นกรรมรอง

3. วิกตรรถกริยา เป็นกริยาที่ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยคำนาม สรรพนาม หรือคำวิเศษณ์มาเติมข้างหลังหรือมาขยายจึงจะได้ใจความ ได้แก่กริยาคำว่า ว่า เหมือน คล้าย เท่า คือ เสมือน ประดุจ แปลว่า เช่น

นายสีเป็นพ่อค้าข้าว
เธอคล้ายฉัน
ทำได้เช่นนี้เป็นดีแน่

4. กริยานุเคราะห์ คือกริยาช่วย เป็นคำที่ช่วยให้กริยาอื่นที่อยู่ข้างหลังได้ความครบ เพื่อบอกกาลหรือบอกการกระทำให้สมบูรณ์ ได้แก่ กำลัง คง จะได้ ย่อม เตย ให้ แล้ว เสร็จ กริยานุเคราะห์จะวางอยู่หน้าคำกริยาสำคัญหรือหลังคำกริยาสำคัญก็ได้ เช่น
เขาย่อมไปที่นั่น
เขาถูกครูดุ
พ่อกำลังมา
น้องทำการบ้านแล้ว
ฉันต้องไปกับคุณแม่วันพรุ่งนี้

5.กริยาสภาวมาลา คือ กริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จะเป็น ประธาน กรรม หรือ บทขยายของประโยคก็ได้ เช่น

นอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดี ( ประธานของประโยค )
ฉันชอบไปเที่ยวกับเธอ ( เป็นบทกรรม )
ฉันมาเพื่อูเขา ( เป็นบทขยาย )

3.2 หน้าที่ของคำกริยา

1. คำกริยาจะทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค จะมีตำแหน่งในประโยคดังนี้
ก. อยู่หลังประธาน เช่น เธอกินข้าว
ข. อยู่หน้าประโยค เช่น เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
2. คำกริยาทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนาม เช่น
- เด็กเร่ร่อนยืนร้องไห้
เร่ร่อน เป็นกริยาขยายคตำนามเด็ก
- ปลาตาย ไม่มีขายในตลาด
ตาย เป็นกริยาขยายคำนามปลา
3. คำกริยา ทำหน้าที่เป็นกริยาสภาวมาลาเป็นประธานกรรมหรือบทขยาย เช่น
- อ่านหนังสือ ช่วยให้มีความรู้
อ่านหนังสือ เป็นประธานของกริยาช่วย
- แม่ไม่ชอบนอนดึก
นอนดึก เป็นกรรมของกริยาชอบ