วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

คำกริยา

คำกริยา

คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนามเพื่อให้รู้ว่า นามหรือสรรพนามนั้นทำหน้าที่อะไร หรือเป็นการแสดงการกระทำของประธานในประโยค

3.1 ชนิดของคำกริยา
คำกริยาแบ่งได้ 5 ชนิด คือ

1. อกรรมกริยา คือกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
ฉันยืนแต่แม่นั่ง
ไก่ขัน แต่หมาเห่า
พื้นบ้านสกปรกมาก
คำลักษณวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโวค ถือว่าเป็นกริยาของประโยค เช่น
ฉันสูงเท่าพ่อ
ดอกไม้ดอกนี้หอม
พื้นสะอาดมาก

2. สกรรมกริยา คือ กริยาที่มีกรรมมารับจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
ฉันกินข้าว
แม่หิ้วถังน้ำ
พ่อขายของ
กริยาบางคำต้องมีกรรมตรงและกรรมรอง เช่น
ให้ ฉันให้ดินสอน้อง หมายถึง ฉันให้ดินสอแก่น้อง
แจก ครูแจกดินสอนักเรียน หมายถึง ครูแจกดินสอให้นักเรียน
ถวาย ญาติโยมถวายอาหารพระภิกษุ หมายถึง ญาติโยมถวายอาหารแด่พระภิกษุ
ดินสอ อาหาร เป็นกรรมตรง
นักเรียน พระภิกษุ น้อง เป็นกรรมรอง

3. วิกตรรถกริยา เป็นกริยาที่ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยคำนาม สรรพนาม หรือคำวิเศษณ์มาเติมข้างหลังหรือมาขยายจึงจะได้ใจความ ได้แก่กริยาคำว่า ว่า เหมือน คล้าย เท่า คือ เสมือน ประดุจ แปลว่า เช่น

นายสีเป็นพ่อค้าข้าว
เธอคล้ายฉัน
ทำได้เช่นนี้เป็นดีแน่

4. กริยานุเคราะห์ คือกริยาช่วย เป็นคำที่ช่วยให้กริยาอื่นที่อยู่ข้างหลังได้ความครบ เพื่อบอกกาลหรือบอกการกระทำให้สมบูรณ์ ได้แก่ กำลัง คง จะได้ ย่อม เตย ให้ แล้ว เสร็จ กริยานุเคราะห์จะวางอยู่หน้าคำกริยาสำคัญหรือหลังคำกริยาสำคัญก็ได้ เช่น
เขาย่อมไปที่นั่น
เขาถูกครูดุ
พ่อกำลังมา
น้องทำการบ้านแล้ว
ฉันต้องไปกับคุณแม่วันพรุ่งนี้

5.กริยาสภาวมาลา คือ กริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จะเป็น ประธาน กรรม หรือ บทขยายของประโยคก็ได้ เช่น

นอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดี ( ประธานของประโยค )
ฉันชอบไปเที่ยวกับเธอ ( เป็นบทกรรม )
ฉันมาเพื่อูเขา ( เป็นบทขยาย )

3.2 หน้าที่ของคำกริยา

1. คำกริยาจะทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค จะมีตำแหน่งในประโยคดังนี้
ก. อยู่หลังประธาน เช่น เธอกินข้าว
ข. อยู่หน้าประโยค เช่น เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
2. คำกริยาทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนาม เช่น
- เด็กเร่ร่อนยืนร้องไห้
เร่ร่อน เป็นกริยาขยายคตำนามเด็ก
- ปลาตาย ไม่มีขายในตลาด
ตาย เป็นกริยาขยายคำนามปลา
3. คำกริยา ทำหน้าที่เป็นกริยาสภาวมาลาเป็นประธานกรรมหรือบทขยาย เช่น
- อ่านหนังสือ ช่วยให้มีความรู้
อ่านหนังสือ เป็นประธานของกริยาช่วย
- แม่ไม่ชอบนอนดึก
นอนดึก เป็นกรรมของกริยาชอบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น