วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์


หน้าที่ของคำวิเศษณ์

มักจะทำหน้าที่เป็นส่วยขยายในประโยค

  1. ขยายนาม เช่น เด็กดีมีวาจาไพเราะ ห้องเก่าทาสีใหม่ เป็นต้น
  2. ขยายคำสรรพนามเช่น ท่านทั้งหลายกรุณาพร้อมใจไปเลือกตั้ง เป็นต้น
  3. ขยายคำกริยา เช่น อ๊อฟกินอาหารมากเกินไป โอเล่พูดเพราะมาก เป็นต้น
  4. ขยายคำวิเศษณ์ เช่น เขาทำงานหนักมาก ฉันทำเองจริงๆ เป็นต้น
  5. เป็นคำอกรรมกริยา หรือกริยาที่ไม่ต้องการกรรมได้ด้วย เช่น น้อยหน่าสวยแต่โฟกัสฉลาด เด็กคนนั้นผอมจัง เป็นต้น


ประเภทของคำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น 10 ชนิด คือ

  1. ลักษณวิเศษณ์
  2. กาลวิเศษณ์
  3. สถานวิเศษณ์
  4. ประมาณวิเศษณ์
  5. นิยมวิเศษณ์
  6. อนิยมวิเศษณ์
  7. ปฤจฉาวิเศษณ์
  8. ประติเษธวิเศษณ์
  9. ประติชญาวิเศษณ์
  10. ประพันธวิเศษณ์


ลักษณวิเศษณ์

เป็นคำวิเศษณ์ขยายนาม สรรพนาม หรือกริยา เพื่อบอก ชนิด ขนาด สัณฐาน สี เสียง กลิ่น รส อาการ สัมผัส เช่น เล็ก แบน ยาว ขาว เหม็น หอม เปรี้ยว

ตัวอย่างของลักษณวิเศษณ์ เช่น

เขาร้องเพลง เพราะ จริง
มะม่วงผลนี้มีรส เปรี้ยว
นักเรียน ดี ต้องอ่านหนังสือ
ดอกจำปีมีกลิ่นหอม
เจี๊ยบมีรถยนต์คันใหม่
น้อยหน่ามีดอกไม้สีแดง
แมวตัวนี้มีขนนุ่ม
ในสังคมมีทั้งคนดีและคนชั่ว แจ๊คชอบทานอาหารเผ็ด


กาลวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์ที่ขยายคำอื่นเพื่อบอกเวลา เวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต เช้า สาย บ่าย ค่ำ เช่น เร็ว ก่อน เช้า สาย บ่าย เย็น ค่ำ นาน เสมอ

ตัวอย่างของกาลวิเศษณ์เช่น

เขามาโรงเรียน สาย
เงาะจะดูละครบ่ายนี้
ครั้นเวลาค่ำลมก็พัดแรง
คนโบราณชอบดูหนังตะลุง
วันสอบนักเรียนมักจะมาเช้า

สถานวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์บอกสถานที่หรือระยะทาง ได้แก่คำว่า บน ลาง เหนือ ใต้ใน นอก ซ้าย ขวา หน้า บน หลัง ใกล้ ไกล เป็นต้น

ตัวอย่างของสถานวิเศษณ์เช่น

เขาอยู่ไกล
โรงเรียนอยู่ไกล
เขาอาศัยอยู่ชั้นล่าง
บอยเดินไปทางทิศเหนือ
ไก่เป็นสัตว์บก

ประมาณวิเศษณ์

คือ คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนหรือปริมาณ เช่น น้อย มาก จุ ทั้งปวง หมด หนึ่ง สอง หลาย ทั้งหมด จุ เป็นต้น

ประมาณวิเศษณ์ จำแนกเป็น 4 พวก
  1. บอกจำนวนไม่จำกัด ได้แก่คำ หมด สิ้น ทั้งปวง บรรดา
  2. บอกจำนวนไม่จำกัด ได้แก่ จุ มาก หลาย
  3. บอกจำนวนนับ เช่น หนึ่ง สอง ที่หนึ่ง
  4. บอกจำนวนแบ่งแยก เช่น ต่าง บ้าง

ตัวอย่างของประมาณวิเศษณ์เช่น

สุนัขที่เลี้ยงไว้กินจุทั้งสิ้น
มาโนชมีเรือหลายลำ
เขาไม่มีโรงเรียนหลายวัน
คุณดื่มเบียร์มากไปไม่ดีนะ

นิยมวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะความแน่นอน ได้แก่คำ นี้ นั้น โน้น ทีเดียว แน่นอน เฉพาะ โน้น แน่ เอง ทั้งนี้ ทั้งนั้น อย่างนี้ เป็นต้น เช่น

ตัวอย่างของนิยมวิเศษณ์ เช่น

กระเป๋านี้ฉันทำเอง
พริกเองเป็นคนเล่าให้เพื่อนฟัง
แก้วนี้ต้องทำความสะอาดอย่างนี้
ตึกนี้มีคนขายแล้ว
เขาเป็นคนขยัน แน่ๆ ฉันทำ เอง

อนิยมวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบ โดยไม่แสดงความกำหนดแน่นอนลงไป ไม่ชี้เฉพาะ ไม่แน่นอน ได้แก่คำว่า อันใด อื่น ใด ไย ไหน อะไร เช่นไร เป็นต้น อีกทั้งไม่ใช่คำถามหรือแสดงความสงสัย ได้แก่คำ อื่น อื่นๆ ใคร ใครๆ อะไร ฉันใด

ตัวอย่างของอนิยมวิเศษณ์ เช่น

คนไหนอาบน้ำก่อนก็ได้
ซื้อขนมอะไรมาโฟกัสกินได้ทั้งสิน
ตี่จะหัวเราะทำไมก็ช่างเขาเถอะ
คนอื่นๆกลับบ้านไปหมดแล้ว
เธอจะมาเวลา ใด ก็ได้
เธอจะทำ อย่างไร ก็ทำเถอะ
เขาจะมา กี่ คนก็ไม่เป็นไร

ปฤจฉาวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์ที่บอกเนื้อความเป็นคำถามหรือความสงสัย ใช้เป็นคำถามหรือแสดงความสงสัย ได้แก่คำ อะไรไฉน ใด เหตุไร อย่างไรไหน ทำไม เป็นต้น

ตัวอย่างของปฤจฉาวิเศษ เช่น

ตัว อะไร อยู่ใต้โต๊ะ
เขากำลังคิด อะไร นะ
ทำไม เธอจึงทำอะไรอย่างนี้ี
ผลไม้อะไรที่แน็คซื้อมาให้ฉัน
สุนัขใครน่ารักจัง
นักร้องคนไหนไม่ชอบร้องเพลง
การเล่นฟุตบอลมีกติกาอย่างไร

ประติเษธวิเศษณ์

คือคำวิเศษณ์ที่แสดงถึงการขานรับในการเจรจาโต้ตอบกัน เป็นการแสดงความปฏิเสธไม่ยอมรับ เช่น ไม่ ไม่ได้ มิได้ ไม่ใช่ หามิได้ บ่ เป็นต้น

ตัวอย่างของประดิเษธวิเศษณ์ เช่น

ผมไม่ได้ทำสิ่งนั้น
เขาตามหาหล่อนแต่ไม่พบ
พี่ไม่ได้แกล้งน้องนะ
ความรู้มิใช่ของหาง่ายนะเธอ
เธอไม่ปลูกต้นไม้เลย

ประติชญาวิเศษณ์

ได้แก่คำวิเศษณ์ที่ใช้ในการพูดจากัน เช่นคำจำพวกขานรับ คำรับรอง เช่นคะ ค่ะ ขา ครับ จ๊ะ ขอรับ

ตัวอย่างของประติชญาวิเศษณ์เช่น

คุณ ครับ มีคนมาหา ขอรับ
หนูจ๊ะรถทัวร์จะออกเดี๋ยวนี้แล้ว
คุณตัดเสื้อเองหรือค่ะ
คุณแม่ขาหนูทำจานแตกค่ะ
ผมจะไปพบท่านขอรับ

ประพันธวิเศษณ์

คือ คำวิเศษณ์ ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือความที่เขามาข้างหน้า ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน

ตัวอย่างของประพันธ์วิเศษณ์ เช่น

เขาคิดอย่าง ที่ เธอคิด
เขาทำความดี อัน หาที่สุดมิได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น